ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็นเป้าหมายด้านเศรษฐกิจหลักที่สำคัญในการขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างประเทศอาเซียน ภายหลังการลงนามจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน ก็มีความคืบหน้าที่ดีในความร่วมมือต่าง ๆ เป็นลำดับและในที่สุดอาเซียนได้มุ่งหวังที่จะจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจในปี 2558 ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญคือการเป็นตลาดและเป็นฐานการผลิตร่วมกัน โดยมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมืออย่างเสรีและเงินลงทุนที่เสรีมากขั้น มีความสามารถในการแข่งขันสูง มุ่งสร้างความเท่าเทียมในการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศอาเซียน และการส่งเสริมการรวมกลุ่มอาเซียนเข้ากับประชาคมโลก ขนาดของตลาดอาเซียนที่ใหญ่ขึ้นทำให้อาเซียนมีอำนาจซื้อสูงขึ้นตามมา เช่นเดียวกับความสามารถในการแข่งขันกับภูมิภาคอื่นที่เพิ่มขึ้น ซึ่งช่วยให้สมาชิกสามารถปรับตัวเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์ได้เป็นอย่างดี
การคมนาคมขนส่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นประโยชน์กับประชาชนอย่างแท้จริง อาเซียนจึงมีโครงการเชื่อมโยงเส้นทางหลวงอาเซียน มีความร่วมมือระหว่างประเทศในการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟจากสิงคโปร์ ผ่านไปยัง มาเลเซีย ไทย กัมพูชา เวียดนามและสิ้นสุดที่เมืองคุนหมิง ประเทศจีน นอกจากนี้ การปรับมาตรฐานของเส้นทางคมนาคมทางบกและทางรถไฟให้มีมาตรฐานเดียวกันก็จะส่งเสริมความร่วมมือของอาเซียนด้านการท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้นด้วย
ขณะที่การเจรจาเพื่อเปิดตลาดในระดับพหุภาคีภายใต้องค์การการค้าโลกยังมีท่าทีว่าจะไม่สามารถสรุปผลได้ในอนาคตอันใกล้ ประเทศต่าง ๆ จึงได้พยายามที่จะทำข้อตกลงการค้าเสรีไม่ว่าจะในระดับทวีภาคี หรือระดับภูมิภาค ในส่วนของอาเซียนมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคโดยการจัดทำเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area - AFTA หรือ อาฟต้า) มาแล้ว 15 ปี และเริ่มรวมตัวกับประเทศหรือกลุ่มคู่ค้าสำคัญ เช่น ญี่ปุ่น จีน เกาหลี สหภาพยุโรป ฯลฯ ความเหนียวแน่นใกล้ชิดระหว่างกันจะเสริมสร้างความเข้มแข็งให้อาเซียนสามารถสร้างประโยชน์สูงสุดจากการรวมตัวกับประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ต่อไป
หากอาเซียนสามารถสร้างประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้สำเร็จ ไทยจะได้ประโยชน์จากการขยายการส่งออกและโอกาสทางการค้า และเปิดโอกาสการค้าบริการในสาขาที่ไทยมีความเข้มแข็ง เช่น ท่องเที่ยว โรงแรมและภัตตาคาร สุขภาพ ฯลฯ ซึ่งอาเซียนยังมีความต้องการด้านการบริการเหล่านี้อีกมาก นอกจากนี้ ยังจะช่วยเสริมสร้างโอกาสในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมายังอาเซียน ซึ่งจะเพิ่มอำนาจการต่อรองของอาเซียนในเวทีการค้าโลก และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในอาเซียนโดยรวม
การคมนาคมขนส่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นประโยชน์กับประชาชนอย่างแท้จริง อาเซียนจึงมีโครงการเชื่อมโยงเส้นทางหลวงอาเซียน มีความร่วมมือระหว่างประเทศในการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟจากสิงคโปร์ ผ่านไปยัง มาเลเซีย ไทย กัมพูชา เวียดนามและสิ้นสุดที่เมืองคุนหมิง ประเทศจีน นอกจากนี้ การปรับมาตรฐานของเส้นทางคมนาคมทางบกและทางรถไฟให้มีมาตรฐานเดียวกันก็จะส่งเสริมความร่วมมือของอาเซียนด้านการท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้นด้วย
ขณะที่การเจรจาเพื่อเปิดตลาดในระดับพหุภาคีภายใต้องค์การการค้าโลกยังมีท่าทีว่าจะไม่สามารถสรุปผลได้ในอนาคตอันใกล้ ประเทศต่าง ๆ จึงได้พยายามที่จะทำข้อตกลงการค้าเสรีไม่ว่าจะในระดับทวีภาคี หรือระดับภูมิภาค ในส่วนของอาเซียนมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคโดยการจัดทำเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area - AFTA หรือ อาฟต้า) มาแล้ว 15 ปี และเริ่มรวมตัวกับประเทศหรือกลุ่มคู่ค้าสำคัญ เช่น ญี่ปุ่น จีน เกาหลี สหภาพยุโรป ฯลฯ ความเหนียวแน่นใกล้ชิดระหว่างกันจะเสริมสร้างความเข้มแข็งให้อาเซียนสามารถสร้างประโยชน์สูงสุดจากการรวมตัวกับประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ต่อไป
หากอาเซียนสามารถสร้างประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้สำเร็จ ไทยจะได้ประโยชน์จากการขยายการส่งออกและโอกาสทางการค้า และเปิดโอกาสการค้าบริการในสาขาที่ไทยมีความเข้มแข็ง เช่น ท่องเที่ยว โรงแรมและภัตตาคาร สุขภาพ ฯลฯ ซึ่งอาเซียนยังมีความต้องการด้านการบริการเหล่านี้อีกมาก นอกจากนี้ ยังจะช่วยเสริมสร้างโอกาสในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมายังอาเซียน ซึ่งจะเพิ่มอำนาจการต่อรองของอาเซียนในเวทีการค้าโลก และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในอาเซียนโดยรวม
ที่มา : http://hq.prd.go.th/PRTechnicalDM/ewt_news.php?nid=563
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น