วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

คณะนักวิจัย มมส. ค้นพบการผลิตข้าวที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ เหมาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2557  รศ.ดร.ศิริธร ศิริอมรพรรณ หัวหน้าหน่วยวิจัยการพัฒนากระบวนการแปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ได้เปิดเผยว่าจากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข เผยว่าปัจจุบันประเทศไทย พบผู้ป่วยเบาหวานราว 4.7 ล้านคนเสียชีวิตเฉลี่ยปีละ 52,800 คน สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากการรับประทานอาหารจำพวกแป้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวขัดขาว เมื่อบริโภคเข้าไปจะมีการย่อยแป้งเป็นน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดได้เร็ว ทำให้ค่าดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index(GI), อ่านว่า ไก-ซี-มิค อิน-เด็ก จี-ไอ) สูง ซึ่งค่าดัชนีน้ำตาลมี 3 ระดับ   คือ ระดับต่ำ คือ น้อยกว่า หรือเท่ากับ 55 ,ระดับกลาง คือ 56 ถึง 69 และ ระดับสูง คือ 70 ขึ้นไป   โดยธรรมชาติข้าวเจ้ามีดัชนีน้ำตาลเท่ากับ 87 ข้าวเหนียวมีค่าเท่ากับ 98 เมื่อร่างกายนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานไม่หมด น้ำตาลก็จะตกค้างอยู่ในกระแสเลือดสูงเกินกว่าระดับปกติ ทำให้เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคเบาหวาน โรคความโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด

 รศ.ดร.ศิริธร ศิริอมรพรรณ  ยังได้กล่าวอีกว่า จากปัญหาดังกล่าว จึงได้ร่วมกับหน่วยวิจัยการพัฒนากระบวนการแปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ทำการวิจัยแปรรูปเพื่อให้ข้าวเจ้ามีระดับดัชนีน้ำตาลในเกณฑ์ต่ำประมาณ 51-53 ต่อมา  จนสำเร็จ ต่อมา บริษัท ร้อยเอ็ดผลิตภัณฑ์เกษตรกรและอาหาร จำกัด  ขอรับผลวิจัยดังกล่าวมาต่อยอดเพื่อผลิตในระดับอุตสาหกรรมจำหน่าย ให้แก่ผู้ป่วย โรคเบาหวานและผู้รักสุขภาพ ภายใต้สิทธิบัตรของบริษัทฯ  ข้าวที่ผ่านการผลิตด้วยกระบวนการที่ถูกต้องมาตรฐาน จะมีลักษณะเด่นคือ อุดมไปด้วยสารอาหาร และวิตามิน ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายสามารถ ควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้ดี ทำให้ลดความเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่รักสุขภาพ โดยบริษัทได้นำข้าวหอมมะลิจากทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งเป็นข้าวหอมมะลิที่มีชื่อเสียงของจังหวัดร้อยเอ็ดและระดับประเทศมาเป็นวัตถุดิบในการผลิต และผลิตด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัย ได้คุณภาพ   มีความหอม นุ่ม รสชาดอร่อย หุงขึ้นหม้อ รศ.ดร.ศิริธร  กล่าวในที่สุด

ผู้ที่สนใจ สามารถติดต่อได้ ที่  บริษัท ร้อยเอ็ดผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร จำกัด  อ.จตุรพัตรพิมาน
 จังหวัดร้อยเอ็ด โทร 080-7588868, 087-2182777   WWW.101agrifood.com   วิจัยและพัฒนาโดยหน่วยวิจัยการพัฒนากระบวนการแปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และได้รับการคุ้มครองจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา และได้รับการสนับสนุนโดย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธกส.)



คมกฤช  พวงศรีเคน  ข่าว/ภาพ
กมลพร  คำนึง  บก.ข่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น