บุรีรัมย์น้ำมูลตื้นเขินเน่าเสียและอากาศร้อนกระทบปลากระชังไม่กินอาหารเริ่มน็อคตายขณะจังหวัดจ่อประกาศภแล้งเพิ่มอีก 2 อำเภอ น้ำมูล อ.สตึก จ.บุรีรัมย์วิกฤตหนักตื้นเขินแห้งขอดในรอบกว่า 10 ปี ซ้ำบางจุดที่มีน้ำเหลืออยู่ยังเน่าเสียมีกลิ่นเหม็นกระทบกับผู้เลี้ยงปลากระชังที่ยังเสี่ยงเลี้ยงอยู่ไม่ถึง 10 รายจากทั้งตำบลกว่า 100 ราย ไม่กินอาหารและเริ่มน๊อคตายแล้ว ขณะจังหวัดจ่อประกาศภัยพิบัติแล้งเพิ่มอีก 2 อำเภอเป็น 3 อำเภอ (26 ก.พ.57) สถานการณ์ภัยแล้งที่จังหวัดบุรีรัมย์ยังขยายวงกว้างอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดน้ำในแม่น้ำมูลที่ไหลผ่าน อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ มีสภาพตื้นเขินแห้งขอดลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะบริเวณสะพานข้ามลำน้ำมูล บ.ท่าเรือ ต.ท่าม่วง ที่ใช้ในการอุปโภคบริโภค ทำการเกษตร และประกอบอาชีพเลี้ยงปลาในกระชัง ปัจจุบันมีสภาพตื้นเขินจนมองเห็นตอหม้อสะพานโผล่ และบางจุดแห้งขอดจนสามารถเดินข้ามฝั่งไปมาได้ จากกรณีดังกล่าวได้ส่งผลกระทบทำให้เกษตรกรตำบลท่าม่วงกว่า 100 ราย ไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงปลากระชังได้ ต้องปล่อยกระชังทิ้งร้าง จากทุกปีจะเลี้ยงได้ถึง 3 รอบ ส่งผลทำให้ขาดรายได้
ส่วนเกษตรกรที่ยังเสี่ยงเลี้ยงอยู่ไม่ถึง 10 ราย เพราะหวังจะนำเงินไปใช้จ่ายในครอบครัวและชำระหนี้ที่กู้ยืมมาลงทุน ก็ต้องประสบปัญหาน้ำไม่ไหลเวียน เน่าเสีย เป็นกรดแก๊ส ทำให้ปลาที่เลี้ยงไว้ไม่กินอาหาร และเริ่มทยอยน็อคตาย โดยเกษตรกรเชื่อว่าหากปลายังทยอยตายต่อเนื่อง ก็จะประสบปัญหาขาดทุนอย่างแน่นอน นอกจากนี้สภาพน้ำมูลที่ตื้นเขินเน่าเสียดังกล่าว ยังส่งผลทำให้ปลาธรรมชาติลอยตายอย่างต่อเนื่องอีกด้วย ด้านนายทวน โยงรัมย์ บอกว่า ได้ประสบปัญหาภัยแล้งต่อเนื่องมาหลายปีแล้ว และจากผลกระทบดังกล่าว จึงอยากเรียกร้องให้ภาครัฐเร่งเข้ามาสำรวจ เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาภัยแล้งอย่างยั่งยืน โดยการขุดลอกหรือทำเขื่อนยางเพื่อให้สามารถกักเก็บน้ำมูลไว้ใช้ทั้งการอุปโภคบริโภค ทำการเกษตร และเลี้ยงปลากระชังได้ตลอดทั้งปี ก่อนที่อาชีพเลี้ยงกระชังจะสูญหาย และต้องอพยพไปขายแรงงานยังต่างถิ่น ขณะที่นายสัญญ์ธวัชช์ ริ้วเหลือง หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.บุรีรัมย์ ระบุว่า จากสถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้ที่มาเร็วกว่าทุกปี ส่งผลให้แหล่งน้ำต่างๆ มีสภาพตื้นเขินและแห้งขอดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งที่ผ่านมาทางจังหวัดก็ได้มีการประกาศให้เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติจากภาวะภัยแล้งไปแล้ว 1 อำเภอ คือ อ.พุทไธสง และล่าสุดขณะนี้อยู่ระหว่างการเสนอประกาศพื้นที่ประสบภัยแล้งเพิ่มอีก 2 อำเภอ คือ อ.บ้านใหม่ไชยพจน์ และ อ.ปะคำ มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 11 ตำบล 140 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 24,054 ครัวเรือน 56,144 คน
ส่วนเกษตรกรที่ยังเสี่ยงเลี้ยงอยู่ไม่ถึง 10 ราย เพราะหวังจะนำเงินไปใช้จ่ายในครอบครัวและชำระหนี้ที่กู้ยืมมาลงทุน ก็ต้องประสบปัญหาน้ำไม่ไหลเวียน เน่าเสีย เป็นกรดแก๊ส ทำให้ปลาที่เลี้ยงไว้ไม่กินอาหาร และเริ่มทยอยน็อคตาย โดยเกษตรกรเชื่อว่าหากปลายังทยอยตายต่อเนื่อง ก็จะประสบปัญหาขาดทุนอย่างแน่นอน นอกจากนี้สภาพน้ำมูลที่ตื้นเขินเน่าเสียดังกล่าว ยังส่งผลทำให้ปลาธรรมชาติลอยตายอย่างต่อเนื่องอีกด้วย ด้านนายทวน โยงรัมย์ บอกว่า ได้ประสบปัญหาภัยแล้งต่อเนื่องมาหลายปีแล้ว และจากผลกระทบดังกล่าว จึงอยากเรียกร้องให้ภาครัฐเร่งเข้ามาสำรวจ เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาภัยแล้งอย่างยั่งยืน โดยการขุดลอกหรือทำเขื่อนยางเพื่อให้สามารถกักเก็บน้ำมูลไว้ใช้ทั้งการอุปโภคบริโภค ทำการเกษตร และเลี้ยงปลากระชังได้ตลอดทั้งปี ก่อนที่อาชีพเลี้ยงกระชังจะสูญหาย และต้องอพยพไปขายแรงงานยังต่างถิ่น ขณะที่นายสัญญ์ธวัชช์ ริ้วเหลือง หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.บุรีรัมย์ ระบุว่า จากสถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้ที่มาเร็วกว่าทุกปี ส่งผลให้แหล่งน้ำต่างๆ มีสภาพตื้นเขินและแห้งขอดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งที่ผ่านมาทางจังหวัดก็ได้มีการประกาศให้เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติจากภาวะภัยแล้งไปแล้ว 1 อำเภอ คือ อ.พุทไธสง และล่าสุดขณะนี้อยู่ระหว่างการเสนอประกาศพื้นที่ประสบภัยแล้งเพิ่มอีก 2 อำเภอ คือ อ.บ้านใหม่ไชยพจน์ และ อ.ปะคำ มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 11 ตำบล 140 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 24,054 ครัวเรือน 56,144 คน
สุรชัย พิรักษา สวท.. บุรีรัมย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น