อุบลราชธานี : เตือนประชาชนให้ระวังโรคพิษสุนัขบ้า ใช้หลัก 5 ย. อย่าแหย่ อย่าเหยียบ อย่าหยิบ อย่ายุ่งและอย่าแยก หลังพบแต่ละปีคนไทยถูกสุนัขกัดไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคน แต่มีประมาณร้อยละ 50 เท่านั้น ที่มาฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
นพ.ศรายุธ อุตตมางคพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี (สคร.7) เปิดเผยว่าในแต่ละปีคนไทยถูกสุนัขกัดไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคน ในจำนวนนี้ประมาณร้อยละ 50 เท่านั้นที่มารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ในปี 2556 ประเทศไทยพบผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้า 6 ราย ซึ่งทุกรายถูกสุนัขกัดและไม่ได้ฉีดวัคซีนหลังถูกกัด จึงขอความร่วมมือประชาชนในพื้นที่ช่วยสอดส่องดูแลสุนัข แมว เนื่องจากระยะหลังพบว่าสัตว์เลี้ยงเป็นสาเหตุของโรคพิษสุนัขบ้าในคนมากกว่าสุนัขจรจัด ผู้ปกครองควรดูแลอย่าให้บุตรหลานไปเล่น หรือคลุกคลีกับสุนัขและแมวไม่มีเจ้าของ และลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการถูกสุนัขกัดโดยใช้หลักคาถา 5 ย คือ 1.อย่าแหย่ ให้สุนัขหรือสัตว์โกรธ 2.อย่าเหยียบ หาง หัว ตัว ขา หรือทำให้สุนัขตกใจ 3.อย่าหยิบจับ จานข้าวหรือเคลื่อนย้ายอาหารขณะที่สุนัขกำลังกินอาหาร 4.อย่ายุ่ง หรือเข้าใกล้สุนัขที่ไม่รู้จักหรือไม่มีเจ้าของ 5.อย่าแยก สุนัขที่กำลังกัดกันด้วยมือเปล่า
นพ.ศรายุธ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า โรคพิษสุนัขบ้า หรือโรคกลัวน้ำ เกิดจากเชื้อไวรัสก่อโรคในสัตว์เลือดอุ่นเลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด เช่น สุนัข แมว วัว ควาย ลิง ชะนี เป็นต้น ในไทยพบว่าสุนัขป่วยเป็นโรคนี้มากที่สุดร้อยละ 96 รองลงมาคือแมว เชื้อติดต่อสู่คนจากการถูกสัตว์ที่เป็นโรคกัด ข่วน เลีย น้ำลายกระเด็นเข้าทางตา ปาก หรือบาดแผลตามผิวหนัง โดยเชื้อไวรัสจะเพิ่มจำนวนที่บริเวณแผลถูกกัด หลังจากนั้นประมาณ 3 สัปดาห์ - 4 เดือน จะมีอาการป่วย บางรายอาจเร็วเพียง 4 วัน การป่วยจะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับจำนวนเชื้อที่เข้าไปในร่างกาย ตำแหน่งบาดแผลหากอยู่ใกล้สมอง เชื้อจะเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลาง หรือเข้าสู่สมองได้เร็ว ผู้ป่วยจะมีอาการคลุ้มคลั่ง ดุร้าย กระวนกระวาย หากเชื้อเข้าสู่ไขสันหลังจะทำให้สมองและไขสันหลังทำงานผิดปกติ มีอาการอัมพาตและเสียชีวิตในที่สุด
ทั้งนี้ ยังไม่มียาใดที่รักษาโรคพิษสุนัขบ้าได้ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคพิษสุนัขบ้าแล้ว จะเสียชีวิตทุกราย แต่สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน หากถูกสุนัขกัด ถูกเล็บข่วน หรือถูกเลียบริเวณที่มีบาดแผล ให้รีบล้างแผลด้วยน้ำและสบู่ ใส่ยาใส่แผลสด และรีบไปพบแพทย์ รวมทั้งเฝ้าระวังสุนัขหรือแมวที่มากัดเป็นเวลา 10 วัน หากสัตว์ตายระหว่างดูอาการ ให้แจ้งปศุสัตว์ในพื้นที่เพื่อตัดหัวสุนัขส่งตรวจหาเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า และทำการป้องกันควบคุมโรคในชุมชน หากมีข้อสงสัยสอบถามได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลฮอตไลน์ 1422 หรือศูนย์ปฏิบัติการกรมควบคุมโรค 0-2590-3333
นพ.ศรายุธ อุตตมางคพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี (สคร.7) เปิดเผยว่าในแต่ละปีคนไทยถูกสุนัขกัดไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคน ในจำนวนนี้ประมาณร้อยละ 50 เท่านั้นที่มารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ในปี 2556 ประเทศไทยพบผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้า 6 ราย ซึ่งทุกรายถูกสุนัขกัดและไม่ได้ฉีดวัคซีนหลังถูกกัด จึงขอความร่วมมือประชาชนในพื้นที่ช่วยสอดส่องดูแลสุนัข แมว เนื่องจากระยะหลังพบว่าสัตว์เลี้ยงเป็นสาเหตุของโรคพิษสุนัขบ้าในคนมากกว่าสุนัขจรจัด ผู้ปกครองควรดูแลอย่าให้บุตรหลานไปเล่น หรือคลุกคลีกับสุนัขและแมวไม่มีเจ้าของ และลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการถูกสุนัขกัดโดยใช้หลักคาถา 5 ย คือ 1.อย่าแหย่ ให้สุนัขหรือสัตว์โกรธ 2.อย่าเหยียบ หาง หัว ตัว ขา หรือทำให้สุนัขตกใจ 3.อย่าหยิบจับ จานข้าวหรือเคลื่อนย้ายอาหารขณะที่สุนัขกำลังกินอาหาร 4.อย่ายุ่ง หรือเข้าใกล้สุนัขที่ไม่รู้จักหรือไม่มีเจ้าของ 5.อย่าแยก สุนัขที่กำลังกัดกันด้วยมือเปล่า
นพ.ศรายุธ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า โรคพิษสุนัขบ้า หรือโรคกลัวน้ำ เกิดจากเชื้อไวรัสก่อโรคในสัตว์เลือดอุ่นเลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด เช่น สุนัข แมว วัว ควาย ลิง ชะนี เป็นต้น ในไทยพบว่าสุนัขป่วยเป็นโรคนี้มากที่สุดร้อยละ 96 รองลงมาคือแมว เชื้อติดต่อสู่คนจากการถูกสัตว์ที่เป็นโรคกัด ข่วน เลีย น้ำลายกระเด็นเข้าทางตา ปาก หรือบาดแผลตามผิวหนัง โดยเชื้อไวรัสจะเพิ่มจำนวนที่บริเวณแผลถูกกัด หลังจากนั้นประมาณ 3 สัปดาห์ - 4 เดือน จะมีอาการป่วย บางรายอาจเร็วเพียง 4 วัน การป่วยจะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับจำนวนเชื้อที่เข้าไปในร่างกาย ตำแหน่งบาดแผลหากอยู่ใกล้สมอง เชื้อจะเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลาง หรือเข้าสู่สมองได้เร็ว ผู้ป่วยจะมีอาการคลุ้มคลั่ง ดุร้าย กระวนกระวาย หากเชื้อเข้าสู่ไขสันหลังจะทำให้สมองและไขสันหลังทำงานผิดปกติ มีอาการอัมพาตและเสียชีวิตในที่สุด
ทั้งนี้ ยังไม่มียาใดที่รักษาโรคพิษสุนัขบ้าได้ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคพิษสุนัขบ้าแล้ว จะเสียชีวิตทุกราย แต่สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน หากถูกสุนัขกัด ถูกเล็บข่วน หรือถูกเลียบริเวณที่มีบาดแผล ให้รีบล้างแผลด้วยน้ำและสบู่ ใส่ยาใส่แผลสด และรีบไปพบแพทย์ รวมทั้งเฝ้าระวังสุนัขหรือแมวที่มากัดเป็นเวลา 10 วัน หากสัตว์ตายระหว่างดูอาการ ให้แจ้งปศุสัตว์ในพื้นที่เพื่อตัดหัวสุนัขส่งตรวจหาเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า และทำการป้องกันควบคุมโรคในชุมชน หากมีข้อสงสัยสอบถามได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลฮอตไลน์ 1422 หรือศูนย์ปฏิบัติการกรมควบคุมโรค 0-2590-3333
พงษ์สถิตย์ อรอินทร์ ส.ปชส.อุบลราชธานี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น