นายประจักษ์ เจริญรัตน์ ประมงจังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ลักษณะอากาศว่า ฤดูร้อนของประเทศไทยปีนี้ จะเริ่มต้นประมาณปลายสัปดาห์ที่ 3-4 ของเดือนกุมภาพันธ์ในช่วงต้นฤดู บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีน ยังคงแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นระยะๆ ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปในตอนเช้าและมีอากาศหนาวบางพื้นที่ในบางวัน ส่วนในตอนกลางวันประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศร้อนเกือบทั่วไป จนถึงประมาณเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน จะมีหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนเป็นช่วงๆ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนอบอ้าวทั่วไป และมีอากาศร้อนจัดในหลายพื้นที่โดยเฉพาะช่วงปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเมษายน ซึ่งฤดูร้อนจะสิ้นสุดประมาณกลางเดือนพฤษภาคม และเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนต่อไป สำนักงานประมงจังหวัดนครพนม จึงขอให้เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทั้งในบ่อดิน และในกระชัง เฝ้าระวังและเตรียมป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามคำแนะนำของกรมประมง ดังนี้
- ให้เกษตรกรติดตามข่าวพยากรณ์อากาศทางราชการอย่างสม่ำเสมอ
- ควบคุมการใช้น้ำและรักษาปริมาณน้ำให้มีการสูญเสียน้อยที่สุด
- ทำร่มเงาและลดปริมาณการให้อาหารที่เกินความจำเป็น เพราะจะทำให้น้ำเสีย
- ปรับสภาพดินและคุณภาพของน้ำโดยใส่ปูนขาวและเกลือ อย่างละ 50 กิโลกรัมต่อไร่
- งดเว้นการรบกวนสัตว์น้ำเพราะการตกใจอาจทำให้ปลาตายได้
- เพิ่มปริมาณออกซิเจนโดยการพ่นน้ำทั้งในบ่อดิน กระชัง และจัดหาแหล่งน้ำสำรอง
- วางแผนการเลี้ยงหรืองดเว้นการเลี้ยงปลาในช่วงดังกล่าว โดยเฉพาะการเลี้ยงปลาในกระชัง
- ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำลงเลี้ยงในปริมาณที่หนาแน่นน้อยกว่าปกติ
- เลือกทำเลที่มีน้ำไหลผ่านสะดวก โดยระดับน้ำจุดที่วางกระชังเลี้ยงปลา ควรมีความลึกมากกว่า 3 เมตรขึ้นไป
- หมั่นตรวจสอบปลาในกระชัง ลดปริมาณกระชังเลี้ยงปลาลง ติดตามสถานการณ์การเลี้ยงปลาบริเวณโดยรอบอย่างใกล้ชิด
- จับสัตว์น้ำที่ได้ขนาดบริโภคหรือจำหน่าย
หากเกษตรกรปฏิบัติได้ดังกล่าว จะสามารถป้องกันและลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อผลผลิตสัตว์น้ำที่เพาะเลี้ยงไว้ได้ ขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานประมงอำเภอท้องที่ และสำนักงานประมงจังหวัดนครพนม โทรศัพท์ 0-4251-1388
- ให้เกษตรกรติดตามข่าวพยากรณ์อากาศทางราชการอย่างสม่ำเสมอ
- ควบคุมการใช้น้ำและรักษาปริมาณน้ำให้มีการสูญเสียน้อยที่สุด
- ทำร่มเงาและลดปริมาณการให้อาหารที่เกินความจำเป็น เพราะจะทำให้น้ำเสีย
- ปรับสภาพดินและคุณภาพของน้ำโดยใส่ปูนขาวและเกลือ อย่างละ 50 กิโลกรัมต่อไร่
- งดเว้นการรบกวนสัตว์น้ำเพราะการตกใจอาจทำให้ปลาตายได้
- เพิ่มปริมาณออกซิเจนโดยการพ่นน้ำทั้งในบ่อดิน กระชัง และจัดหาแหล่งน้ำสำรอง
- วางแผนการเลี้ยงหรืองดเว้นการเลี้ยงปลาในช่วงดังกล่าว โดยเฉพาะการเลี้ยงปลาในกระชัง
- ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำลงเลี้ยงในปริมาณที่หนาแน่นน้อยกว่าปกติ
- เลือกทำเลที่มีน้ำไหลผ่านสะดวก โดยระดับน้ำจุดที่วางกระชังเลี้ยงปลา ควรมีความลึกมากกว่า 3 เมตรขึ้นไป
- หมั่นตรวจสอบปลาในกระชัง ลดปริมาณกระชังเลี้ยงปลาลง ติดตามสถานการณ์การเลี้ยงปลาบริเวณโดยรอบอย่างใกล้ชิด
- จับสัตว์น้ำที่ได้ขนาดบริโภคหรือจำหน่าย
หากเกษตรกรปฏิบัติได้ดังกล่าว จะสามารถป้องกันและลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อผลผลิตสัตว์น้ำที่เพาะเลี้ยงไว้ได้ ขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานประมงอำเภอท้องที่ และสำนักงานประมงจังหวัดนครพนม โทรศัพท์ 0-4251-1388
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น