นายกสิณ นวลโคกสูง พัฒนาการจังหวัดสุรินทร์ เปิดเผยว่า ข้อมูลความจําเป็นพื้นฐาน ( จปฐ.) เป็นข้อมูลที่แสดงถึงลักษณะของสังคมไทยที่พึงประสงค์ตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำของเครื่องชี้วัดว่าอย่างน้อยคนไทยควรจะมีระดับความเป็นอยู่ไม่ต่ำกว่าระดับไหนในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ และทำให้ประชาชนสามารถทราบได้ด้วยตนเองว่า ในขณะนี้คุณภาพชีวิตของตนเอง ครอบครัว รวมไปถึงหมู่บ้านอยู่ในระดับใด มีปัญหาที่จะต้องแก้ไขในเรื่องใดบ้าง เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเอง ครอบครัว และสังคม อันเป็นนโยบายสำคัญในการพัฒนาชนบทของประเทศ
สำหรับจังหวัดสุรินทร์ได้จัดเก็บข้อมูลความจําเป็นพื้นฐานจากทุกครัวเรือนที่อยู่จริง จํานวน 227,825 ครัวเรือน ประชากร 867,901 คน จากพื้นที่ 2,096 หมู่บ้าน 158 ตําบล 17 อําเภอ ซึ่งจากการวิเคราะห์ข้อมูล สรุปคุณภาพชีวิตของคนสุรินทร์ในเขตชนบทจากข้อมูลความจําเป็นพื้นฐาน ปี 2556 จํานวน 5 หมวด 30 ตัวชี้วัด มีประเด็นสำคัญ ดังนี้
ปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไข 5 ลำดับแรกของจำนวนข้อที่ตกเกณฑ์ มากที่สุด 5 ลำดับแรกได้แก่
ปัญหาเด็กจบการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี ที่ไม่ได้เรียนต่อและยังไม่มีงานทำสำรวจ 274 คน ตกเกณฑ์ 46 คน คิดเป็นร้อยละ 16.75
คนในครัวเรือนไม่สูบบุหรี่ สำรวจ 867,901 คน ตกเกณฑ์ 62,048 คน คิดเป็นร้อยละ 7.15
คนในครัวเรือนไม่ดื่มสุรา สำรวจ 867,901 คน ตกเกณฑ์ 51,852 คน คิดเป็นร้อยละ 5.97
เด็กแรกเกิดได้กินนมอย่างเดียว อย่างน้อย 6 เดือนแรกติดต่อกันสำรวจจำนวน 7,021
คน ตกเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 3.20
คนอายุมากกว่า 60 ปี เต็มขึ้นไปมีอาชีพและมีรายได้ สำรวจ 120,776 คน ตกเกณฑ์ 2,878 คน คิดเป็นร้อยละ 2.38
จากการสำรวจจ้อมูล จปฐ ปี 2556 พบว่า จ.สุรินทร์มีรายได้เฉลี่ย /คน /ปี 55,906 บาท โดยอําเภอที่มีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ อำเภอบัวเชด 62,959 บาท อําเภอเมืองสุรินทร์ 61,070 บาท และ อำเภอรัตนบุรี 59,293 บาท
ส่วนอำเภอที่มีรายได้เฉลี่ย /คน /ปี ต่ำสุด 3 ลำดับ ได้แก่ อําเภอศรีณรงค์ 48,827 บาท อําเภอสนม 50,640 บาท และอำเภอปราสาท 51,563 บาท
สนใจสืบค้นรายละเอียดได้ทาง ทางเว็บไซด์ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุรินทร์ www3.cdd.go.th/surin
สำหรับจังหวัดสุรินทร์ได้จัดเก็บข้อมูลความจําเป็นพื้นฐานจากทุกครัวเรือนที่อยู่จริง จํานวน 227,825 ครัวเรือน ประชากร 867,901 คน จากพื้นที่ 2,096 หมู่บ้าน 158 ตําบล 17 อําเภอ ซึ่งจากการวิเคราะห์ข้อมูล สรุปคุณภาพชีวิตของคนสุรินทร์ในเขตชนบทจากข้อมูลความจําเป็นพื้นฐาน ปี 2556 จํานวน 5 หมวด 30 ตัวชี้วัด มีประเด็นสำคัญ ดังนี้
ปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไข 5 ลำดับแรกของจำนวนข้อที่ตกเกณฑ์ มากที่สุด 5 ลำดับแรกได้แก่
ปัญหาเด็กจบการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี ที่ไม่ได้เรียนต่อและยังไม่มีงานทำสำรวจ 274 คน ตกเกณฑ์ 46 คน คิดเป็นร้อยละ 16.75
คนในครัวเรือนไม่สูบบุหรี่ สำรวจ 867,901 คน ตกเกณฑ์ 62,048 คน คิดเป็นร้อยละ 7.15
คนในครัวเรือนไม่ดื่มสุรา สำรวจ 867,901 คน ตกเกณฑ์ 51,852 คน คิดเป็นร้อยละ 5.97
เด็กแรกเกิดได้กินนมอย่างเดียว อย่างน้อย 6 เดือนแรกติดต่อกันสำรวจจำนวน 7,021
คน ตกเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 3.20
คนอายุมากกว่า 60 ปี เต็มขึ้นไปมีอาชีพและมีรายได้ สำรวจ 120,776 คน ตกเกณฑ์ 2,878 คน คิดเป็นร้อยละ 2.38
จากการสำรวจจ้อมูล จปฐ ปี 2556 พบว่า จ.สุรินทร์มีรายได้เฉลี่ย /คน /ปี 55,906 บาท โดยอําเภอที่มีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ อำเภอบัวเชด 62,959 บาท อําเภอเมืองสุรินทร์ 61,070 บาท และ อำเภอรัตนบุรี 59,293 บาท
ส่วนอำเภอที่มีรายได้เฉลี่ย /คน /ปี ต่ำสุด 3 ลำดับ ได้แก่ อําเภอศรีณรงค์ 48,827 บาท อําเภอสนม 50,640 บาท และอำเภอปราสาท 51,563 บาท
สนใจสืบค้นรายละเอียดได้ทาง ทางเว็บไซด์ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุรินทร์ www3.cdd.go.th/surin
สมทรง เผือกผล / ส.ปชส.สุรินทร์ / ข่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น