เมื่อวันที่ 18 ก.ย. นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า จากการประสานข้อมูลสภาพอากาศกับกรมอุตุนิยมวิทยา คาดว่า พายุดีเปรสชั่นในทะเลจีนใต้จะเคลื่อนเข้าปกคลุมประเทศเวียดนามตอนกลาง และประเทศไทยบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือในระยะต่อไป ส่งผลให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และด้านตะวันออกมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง ช่วงวันที่ 18 - 20 ก.ย.
จึงขอเตือนประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณที่ลุ่มริมแม่น้ำ และที่ลาดเชิงเขา 15 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา ชัยภูมิ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และยโสธร ติดตามพยากรณ์อากาศ และประกาศเตือนภัยอย่างใกล้ชิด พร้อมปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด รวมถึงหมั่นสังเกตสัญญาณความผิดปกติทางธรรมชาติ จะได้อพยพหนีภัยได้อย่างทันท่วงที
นายฉัตรชัย กล่าวต่อว่า ปภ.ได้ประสาน 15 จังหวัด และศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 5 นครราชสีมา เขต 6 ขอนแก่น เขต 7 สกลนคร และเขต 13 อุบลราชธานี จัดเจ้าหน้าที่และมิสเตอร์เตือนภัยติดตาม เฝ้าระวังสถานการณ์ภัยตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมจัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ประจำจุดเสี่ยงให้พร้อมเผชิญเหตุ และช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันทีที่เกิดสถานการณ์ภัย รวมถึงตรวจสอบฝาย อ่างเก็บน้ำ คันกั้นน้ำให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง อีกทั้งจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังตามแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เพื่อประกาศแจ้งเตือนภัยและอพยพนักท่องเที่ยวได้อย่างทันท่วงที สำหรับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากภาวะฝนตกหนัก สามารถติดต่อ ขอความช่วยเหลือได้ที่ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดในพื้นที่ หรือสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป
จึงขอเตือนประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณที่ลุ่มริมแม่น้ำ และที่ลาดเชิงเขา 15 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา ชัยภูมิ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และยโสธร ติดตามพยากรณ์อากาศ และประกาศเตือนภัยอย่างใกล้ชิด พร้อมปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด รวมถึงหมั่นสังเกตสัญญาณความผิดปกติทางธรรมชาติ จะได้อพยพหนีภัยได้อย่างทันท่วงที
นายฉัตรชัย กล่าวต่อว่า ปภ.ได้ประสาน 15 จังหวัด และศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 5 นครราชสีมา เขต 6 ขอนแก่น เขต 7 สกลนคร และเขต 13 อุบลราชธานี จัดเจ้าหน้าที่และมิสเตอร์เตือนภัยติดตาม เฝ้าระวังสถานการณ์ภัยตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมจัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ประจำจุดเสี่ยงให้พร้อมเผชิญเหตุ และช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันทีที่เกิดสถานการณ์ภัย รวมถึงตรวจสอบฝาย อ่างเก็บน้ำ คันกั้นน้ำให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง อีกทั้งจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังตามแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เพื่อประกาศแจ้งเตือนภัยและอพยพนักท่องเที่ยวได้อย่างทันท่วงที สำหรับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากภาวะฝนตกหนัก สามารถติดต่อ ขอความช่วยเหลือได้ที่ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดในพื้นที่ หรือสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น