วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

ชัยภูมิเร่งสร้างกลไกป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยอย่างเป็นระบบ

อิทธิพลของหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมอยู่บริเวณตอนกลางของประเทศไทย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย ทำให้ช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา มีฝนตกหนักทั่วทั้งจังหวัดชัยภูมิ และเกิดน้ำป่าไหลหลาก เข้าท่วมถนน และพื้นที่การเกษตรหลายอำเภอ จังหวัดต้องตั้งชุดติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันและแก้ไขได้ทันท่วงที

เมื่อเวลา 09.30น. วันนี้ 23 กันยายน 2556 นายพรศักดิ์ เจียรณัย ผวจ.ชัยภูมิ ได้ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาอุทกภัย เพื่อทราบสถานการณ์ที่แท้จริง ความเสียหายที่เกิดขึ้น และแนวทางป้องกันแก้ไขในระยะยาว หลังเกิดฝนตกหนักติดต่อกัน ในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา ทำให้ปริมาณฝน รวมกับน้ำในลำน้ำสำคัญต่างๆ ไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่การเกษตร ถนนสายต่างๆ ได้รับความเสียหาย ล่าสุดเมื่อเช้าวันเสาร์ที่ 20 กันยายน 2556 ที่ผ่านมา อ่างเก็บน้ำห้วยหินโง่น ความจุ 1ล้านสองแสน ลูกบาศก์เมตร ไม่สามารถรับน้ำที่ไหลหลาก จากเทือกเขาภูแลนคาได้ ถูกน้ำกัดเซาะพัง และไหลบ่าผ่านอ่างเก็บน้ำช่องพันลำ ซึ่งชำรุดเก็บน้ำไม่ได้ เข้าท่วมพื้นที่การเกษตร ถนน ในเขตตำบลสระโพนทอง อ.เกษตรสมบูรณ์ นอกจากนี้ ระดับน้ำในลำน้ำสำคัญ เช่นลำน้ำชี ลำน้ำปะทาว เริ่มมีระดับสูงขึ้น บางจุดเริ่มเอ่อล้น จึงกำชับให้ทุกหน่วยงาบูรณาการข้อมูล ข่าวสาร เครื่องจักร และกำลังคน ไว้ให้พร้อม หากเกิดเหตุฉุกเฉินสามารถเรียกใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ด้านนายสุชาติ คล่องแคล่ว หัวหน้าสถานีอุตุนิยมวิทยาจังหวัดชัยภูมิ กล่าวว่า ฝนที่ตกช่วงนี้ เกิดจาก อิทธิพลของหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมอยู่บริเวณตอนกลางของประเทศไทย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย ถือว่าช่วงนี้ ชัยภูมิได้รับฝนทั่วถึง และอยู่ในเกณฑ์มากพอสมควร โชคดีที่ไม่มีปริมาณฝนตกสะสม ทำให้น้ำไหลผ่านไปตามธรรมชาติได้ คาดว่าในช่วง 25-26 นี้ อาจจะเกิดฝนตกหนักอีกครั้ง แต่คงไม่หนักเช่นช่วงเสาร์-อาทิตย์ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามฤดูฝนของชัยภูมิ จะไปสิ้นสุดประมาณกลางเดือนตุลาคม ระยะนี้จึงควรระมัดระวัง และเตรียมความพร้อมในระยะนี้ด้วย

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้น้ำในลำน้ำชี ในเขตอำเภอหนองบัวแดง มีระดับสูงขึ้น ล้นตลิ่ง เอ่อขึ้นเกือบท่วมคันดิน ที่ อบจ.ชัยภูมิ สร้างป้องกันน้ำท่วมแล้ว และยังมีบางจุดล่อแหลมและเคยคันดินเคยพังลงมา ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอบ้านเขว้า จังหวัดจึงอนุมติงบประมาณ ให้นายอำเภอบ้านเข้า นำไปซ่อมแซม เสริมความแข็งแรงให้กับคันดินเป็นการด่วนแล้ว พร้อมตั้งศูนย์ปฎิบัติการแก้ไขปัญหาเฉพาะกิจน้ำท่วมขึ้น เพื่อบูรณาการ การทำงานของทุกภาคส่วนไว้ด้วยกัน มอบหมายให้ชลประทานจังหวัดเป็นเลขาฯ เพื่อให้มีระบบการทำงาน ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น แก้ไขปัญหาได้รวดเร็ว ตรงจุด




สุระพงค์ สวัสดิ์ผล /ข่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น