อุบลราชธานี : สรุปผลการดำเนินงาน ประจำปี ๒๕๕๖ ด้านการตรวจสอบสถานประกอบการแปรรูปอาหารที่บรรจุภาชนะพร้อมจำหน่าย (สำหรับสินค้า OTOP) ตลาดสด,ตลาดนัดน่าซื้อ,ร้านอาหารและแผงลอย,โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขผ่านเกณฑ์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพด้านอาหารและโภชนาการขั้นพื้นฐานและการสุ่มตัวอย่างอาหารเพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยจากแหล่งจำหน่าย ทุกด้านล้วนผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค และโครงการอาหารปลอดภัยปลอดโรคในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ที่ดำเนินการได้ตามเป้าหมาย
นางศิริวิทย์ หลิ่มโตประเสริฐ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอาหารปลอดภัยจังหวัดอุบลราชธานี ที่ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อรายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดระดับความสำเร็จของการดำเนินงานอาหารปลอดภัยเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ซึ่งดำเนินการโดยคณะกรรมการอาหารปลอดภัยจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หลายหน่วยงาน และได้ดำเนินการตามภารกิจที่เกี่ยวข้องในด้าน การตรวจสอบสถานประกอบการแปรรูปอาหารที่บรรจุภาชนะพร้อมจำหน่าย (สำหรับสินค้า OTOP) ได้รับการอบรมและตรวจประเมินตามเกณฑ์ Primary GMP เป้าหมายดำเนินการ ๓๐ แห่ง ดำเนินการ ๓๖ แห่ง ผ่านเกณฑ์ ๓๓ แห่ง, ด้านตลาดประเภทที่ ๑ (ตลาดสด) เป้าหมายดำเนินการ ๓๗ แห่ง ผ่านเกณฑ์ทุกแห่ง, ด้านตลาดประเภทที่ ๒ (ตลาดนัด) เป้าหมายดำเนินการ ๔ แห่ง ผ่านเกณฑ์ทุกแห่ง,ด้านร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารผ่านเกณฑ์ Clean Food Good Test เป้าหมายดำเนินการ ๓,๙๐๓ ร้าน ผ่านเกณฑ์ ๓,๓๓๘ แห่ง,ด้านโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขผ่านเกณฑ์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพด้านอาหารและโภชนาการขั้นพื้นฐาน เป้าหมายดำเนินการ ๒๒ แห่ง ผ่านเกณฑ์ ๑๖ แห่งและที่เหลืออยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลรายงานผลและมีการสุ่มตัวอย่างอาหารเพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยจากแหล่งจำหน่าย ซึ่งมีเป้าหมายการสุ่มตัวอย่างตรวจสอบ ๒๔,๙๓๓ ตัวอย่าง สามารถดำเนินการได้ ๕๖,๗๓๑ ตัวอย่างและ ผ่านเกณฑ์ จำนวน ๕๖,๗๒๖ ตัวอย่าง ซึ่งมีการตรวจสอบอาหารที่ปนเปื้อนจุลินทรีย์ เช่น สารเร่งเนื้อแดง บอแรกซ์ สารฟอกขาว ฟอร์มารีน น้ำมันทอดซ้ำ น้ำบริโภค อาหารพร้อมบริโภค นมโรงเรียน เส้นก๋วยเตี๋ยว ไม่พบการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ แต่ตรวจพบสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในพริก ซึ่งในการตรวจสอบดังกล่าว ได้ตรวจสอบตามรถเร่, โรงพยาบาลและในโรงเรียน
ส่วนการดำเนินโครงการอาหารปลอดภัยปลอดโรคในโรงเรียนและศูนย์เด็กเล็ก ซึ่งเป้าหมายในปี ๒๕๕๖ ดำเนินการไม่น้อยกว่าร้อยละ ๓๐ ของโรงเรียนประถมศึกษา มัธยมศึกษาและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยมีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน ๓๖๕ โรงเรียน ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๑๔๔ แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เข้าร่วมโครงการ จำนวน ๒๖๔ แห่ง ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ๑๐๖ แห่ง ส่วนที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานส่วนมากมีสาเหตุจากข้อจำกัดด้านอาคาร สถานที่ ที่ไม่สามารถขยายพื้นที่ให้ห่างจากแหล่งที่ไม่ปลอดภัย เช่น ห้องน้ำ ห้องส้วม และในปี ๒๕๕๖ มีเป้าหมายดำเนินการไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ ของโรงเรียนประถมศึกษา มัธยมศึกษาและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ที่มีในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี
นางศิริวิทย์ หลิ่มโตประเสริฐ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอาหารปลอดภัยจังหวัดอุบลราชธานี ที่ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อรายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดระดับความสำเร็จของการดำเนินงานอาหารปลอดภัยเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ซึ่งดำเนินการโดยคณะกรรมการอาหารปลอดภัยจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หลายหน่วยงาน และได้ดำเนินการตามภารกิจที่เกี่ยวข้องในด้าน การตรวจสอบสถานประกอบการแปรรูปอาหารที่บรรจุภาชนะพร้อมจำหน่าย (สำหรับสินค้า OTOP) ได้รับการอบรมและตรวจประเมินตามเกณฑ์ Primary GMP เป้าหมายดำเนินการ ๓๐ แห่ง ดำเนินการ ๓๖ แห่ง ผ่านเกณฑ์ ๓๓ แห่ง, ด้านตลาดประเภทที่ ๑ (ตลาดสด) เป้าหมายดำเนินการ ๓๗ แห่ง ผ่านเกณฑ์ทุกแห่ง, ด้านตลาดประเภทที่ ๒ (ตลาดนัด) เป้าหมายดำเนินการ ๔ แห่ง ผ่านเกณฑ์ทุกแห่ง,ด้านร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารผ่านเกณฑ์ Clean Food Good Test เป้าหมายดำเนินการ ๓,๙๐๓ ร้าน ผ่านเกณฑ์ ๓,๓๓๘ แห่ง,ด้านโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขผ่านเกณฑ์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพด้านอาหารและโภชนาการขั้นพื้นฐาน เป้าหมายดำเนินการ ๒๒ แห่ง ผ่านเกณฑ์ ๑๖ แห่งและที่เหลืออยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลรายงานผลและมีการสุ่มตัวอย่างอาหารเพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยจากแหล่งจำหน่าย ซึ่งมีเป้าหมายการสุ่มตัวอย่างตรวจสอบ ๒๔,๙๓๓ ตัวอย่าง สามารถดำเนินการได้ ๕๖,๗๓๑ ตัวอย่างและ ผ่านเกณฑ์ จำนวน ๕๖,๗๒๖ ตัวอย่าง ซึ่งมีการตรวจสอบอาหารที่ปนเปื้อนจุลินทรีย์ เช่น สารเร่งเนื้อแดง บอแรกซ์ สารฟอกขาว ฟอร์มารีน น้ำมันทอดซ้ำ น้ำบริโภค อาหารพร้อมบริโภค นมโรงเรียน เส้นก๋วยเตี๋ยว ไม่พบการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ แต่ตรวจพบสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในพริก ซึ่งในการตรวจสอบดังกล่าว ได้ตรวจสอบตามรถเร่, โรงพยาบาลและในโรงเรียน
ส่วนการดำเนินโครงการอาหารปลอดภัยปลอดโรคในโรงเรียนและศูนย์เด็กเล็ก ซึ่งเป้าหมายในปี ๒๕๕๖ ดำเนินการไม่น้อยกว่าร้อยละ ๓๐ ของโรงเรียนประถมศึกษา มัธยมศึกษาและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยมีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน ๓๖๕ โรงเรียน ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๑๔๔ แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เข้าร่วมโครงการ จำนวน ๒๖๔ แห่ง ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ๑๐๖ แห่ง ส่วนที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานส่วนมากมีสาเหตุจากข้อจำกัดด้านอาคาร สถานที่ ที่ไม่สามารถขยายพื้นที่ให้ห่างจากแหล่งที่ไม่ปลอดภัย เช่น ห้องน้ำ ห้องส้วม และในปี ๒๕๕๖ มีเป้าหมายดำเนินการไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ ของโรงเรียนประถมศึกษา มัธยมศึกษาและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ที่มีในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี
พงษ์สถิตย์ อรอินทร์ ส.ปชส.อุบลราชธานี
๐๘๑ – ๙๒๔ ๘๖๐๙ /ข่าว/ ๒๔ ก.ย.๕๖
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น