กลุ่มเกษตรกรแปรรูปอาหารผู้ผลิตปลาส้มกลุ่มจังหวัดภาคอีสานตอนกลาง สร้างมูลค่าสินค้าชุมชนสู่ตลาดการค้าระดับนานาชาติ รับ AEC
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รศ.ดร.รังสรรค์ เนียมสนิท รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมด้วย น.ส.เสาวณี มุสิแดง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ปลาส้มสู่การรับรองมาตรฐานในพื้นที่ จ.ขอนแก่น, หนองบัวลำภู และชัยภูมิ มีกลุ่มผู้ประกอบการและผู้นำชุมชนจากทั้ง 3 จังหวัดและกลุ่มผู้ผลิตสินค้าโอทอปรวมกว่า 60 ราย ผู้ร่วมประชุมกว่า 100 คน น.ส.เสาวณี มุสิแดง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า การยกระดับมาตรฐานและผลิตภัณฑ์ของชุมชนเป็นเป้าหมายหลักที่สำคัญของรัฐบาล โดยเฉพาะกับการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และการขยายโอกาสให้ชุมชนครอบคลุมทุกพื้นที่
ขณะเดียวกัน การผลักดันในด้านของคุณภาพและมาตรฐานสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของไทยให้สามารถที่จะเข้าถึงโอกาสทางการตลาดจนนำไปสู่การยกระดับสู่ตลาดการค้าที่ครอบคลุมทั้งประเทศและตลาดการค้าในต่างประเทศก็เป็นสิ่งที่สำคัญของแนวทางการดำเนินงานเช่นกัน ดังนั้น การนำเอาผลิตภัณฑ์ชุมชนจากทั้ง 3 จังหวัดของกลุ่มจังหวัดภาคอีสานตอนกลาง ที่ถือเป็นสินค้าสำหรับการบริโภคของท้องถิ่นอย่างปลาส้มมาเป็นโจทย์ที่สำคัญของการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ได้รับรองมาตรฐานที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการและผ่านการประเมินจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของผลิตภัณฑ์อาหาร จนนำไปสู่การขยายฐานตลาดการค้าได้อย่างครอบคลุมต่อไปในอนาคต โดยเฉพาะ"ปลาส้ม เป็นสินค้าโอทอปของไทย ซึ่งภาคอีสานมีการผลิตอยู่หลายพื้นที่ ดังนั้นการคัดเลือกพื้นที่นำร่องใน 3 จังหวัดรวมผู้ประกอบการกว่า 60 ราย ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ที่ติดกับแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่มีวัตถุดิบภายในท้องถิ่นชุมชน โดยเฉพาะเขื่อนอุบลรัตน์และเขื่อนจุฬาภรณ์ เป็นพื้นที่เป้าหมาย”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รศ.ดร.รังสรรค์ เนียมสนิท รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมด้วย น.ส.เสาวณี มุสิแดง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ปลาส้มสู่การรับรองมาตรฐานในพื้นที่ จ.ขอนแก่น, หนองบัวลำภู และชัยภูมิ มีกลุ่มผู้ประกอบการและผู้นำชุมชนจากทั้ง 3 จังหวัดและกลุ่มผู้ผลิตสินค้าโอทอปรวมกว่า 60 ราย ผู้ร่วมประชุมกว่า 100 คน น.ส.เสาวณี มุสิแดง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า การยกระดับมาตรฐานและผลิตภัณฑ์ของชุมชนเป็นเป้าหมายหลักที่สำคัญของรัฐบาล โดยเฉพาะกับการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และการขยายโอกาสให้ชุมชนครอบคลุมทุกพื้นที่
ขณะเดียวกัน การผลักดันในด้านของคุณภาพและมาตรฐานสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของไทยให้สามารถที่จะเข้าถึงโอกาสทางการตลาดจนนำไปสู่การยกระดับสู่ตลาดการค้าที่ครอบคลุมทั้งประเทศและตลาดการค้าในต่างประเทศก็เป็นสิ่งที่สำคัญของแนวทางการดำเนินงานเช่นกัน ดังนั้น การนำเอาผลิตภัณฑ์ชุมชนจากทั้ง 3 จังหวัดของกลุ่มจังหวัดภาคอีสานตอนกลาง ที่ถือเป็นสินค้าสำหรับการบริโภคของท้องถิ่นอย่างปลาส้มมาเป็นโจทย์ที่สำคัญของการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ได้รับรองมาตรฐานที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการและผ่านการประเมินจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของผลิตภัณฑ์อาหาร จนนำไปสู่การขยายฐานตลาดการค้าได้อย่างครอบคลุมต่อไปในอนาคต โดยเฉพาะ"ปลาส้ม เป็นสินค้าโอทอปของไทย ซึ่งภาคอีสานมีการผลิตอยู่หลายพื้นที่ ดังนั้นการคัดเลือกพื้นที่นำร่องใน 3 จังหวัดรวมผู้ประกอบการกว่า 60 ราย ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ที่ติดกับแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่มีวัตถุดิบภายในท้องถิ่นชุมชน โดยเฉพาะเขื่อนอุบลรัตน์และเขื่อนจุฬาภรณ์ เป็นพื้นที่เป้าหมาย”
ข่าว/พิมพ์ นายคันฉัตร เพียรวิจัยธรณี ส.ปชส.ขอนแก่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น