วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

คุณสมบัติผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา

ด้วยสมาชิกวุฒิสภาได้ครบวาระ ในวันที่ 1 มีนาคม 2557 คณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้มี มติเห็นชอบกำหนดให้มีการเลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 30 มีนาคม 2557 และรับสมัครเลือกตั้ง ระหว่าง วันอังคารที่ 4 มีนาคม 2557 ถึงวันเสาร์ที่ 8 มีนาคม 2557 เพื่อให้ผู้สนใจที่คาดว่าจะสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ได้ตรวจสอบคุณสมบัติก่อนที่จะสมัคร สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ ขอชี้แจงคุณสมบัติและลักษณะต้องของผู้สมัครดังนี้

คุณสมบัติผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ได้แก่ (มาตรา 115 รัฐธรรมนูญ)
1. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด 2
. มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์ในวันสมัครรับเลือกตั้ง
3. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และ
4. ต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (ก) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกัน ไม่น้อยกว่าห้าปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง (ข) เป็นบุคคลซึ่งเกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง (ค) เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกัน ไม่น้อยกว่าห้าปีการศึกษา (ง) เคยรับราชการหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็น เวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปี

ลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (มาตรา 115 รัฐธรรมนูญ)
1. เป็นบุพการี* คู่สมรส หรือบุตรของผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ผู้ดำรง ตำแหน่งทางการเมือง**
2. เป็นสมาชิกหรือผู้ดำรงตำแหน่งใดพรรคการเมือง หรือเคยเป็นสมาชิก หรือเคยดำรง ตำแหน่งและพ้นจากการเป็นสมาชิก หรือการดำรงตำแหน่งใด ๆ ในพรรคการเมืองมาแล้ว ยังไม่เกินห้าปีนับถึงวันรับสมัครรับเลือกตั้ง
3. เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และพ้นจากการเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วไม่เกินห้าปี นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
4. ติดยาเสพติดให้โทษ
5. เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
6. เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 100 (1) (2) หรือ (4) ดังนี้ (1) เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช (2) อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง หรือ - ๒ - (4) วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
7. ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่ในหมายของศาล
8. เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีในวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในความผิด อันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
9. เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะ ทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤตมิชอบในวงราชการ
10. เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน เพราะร่ำรวยผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
11. เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำนอกจากข้าราชการการเมือง
12. เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
13. เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานราการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ
14. เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการป้องกัน และปราบปรามทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน หรือกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
15. อยู่ในระหว่างต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามมาตรา 263 ของรัฐธรรมนูญนี้
16. เคยถูกวุฒิสภามีมติตามมาตรา 274 ของรัฐธรรมนูญนี้ ให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง จึงประชาสัมพันธ์มาเพื่อโปรดทราบโดยทั่วไป

หมายเหตุ : *บุพการี หมายถึง ผู้สืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไป ได้แก่ บิดา มารดา ปู่ย่า ตา ยาย ทวด **ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้แก่ (1) นายกรัฐมนตรี (2) รองนายกรัฐมนตรี (3) รัฐมนตรีว่าการกระทรวง (4) รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (5) รัฐมนตรีว่าการทบวง (6) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง (7) รัฐมนตรีช่วยว่าการทบวง (8) ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (9) ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (10) ที่ปรึกษารัฐมนตรี และที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (11) เลขาธิการนายกรัฐมนตรี (12) รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (13) โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (14) รองโฆษกประจำสำนักนายรัฐมนตรี (15) เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายรัฐมนตรี (16) ข้าราชการประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (17) เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง (18) ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง (19) เลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวง (20) ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีทบวง (21) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (22) สมาชิกวุฒิสภา (23) ที่ปรึกษาประธานรัฐสภา (24) ที่ปรึกษารองประธานรัฐสภา (25) ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร (26) ที่ปรึกษาประธานวุฒิสภา (27) ที่ปรึกษารองประธานสภาผู้แทนราษฎร (28) ที่ปรึกษารองประธานวุฒิสภา (29) ที่ปรึกษาผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร (30) โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร (31) โฆษกประธานวุฒิสภา (32) โฆษกผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร (33) เลขานุการประธานรัฐสภา (34) เลขานุการรองประธานรัฐสภา (35) เลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร (36) เลขานุการประธานวุฒิสภา (37) เลขานุการรองประธานสภาผู้แทนราษฎร (38) เลขานุการรองประธานวุฒิสภา (39) เลขานุการผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร (40) ผู้ช่วยเลขานุการประธานรัฐสภา (41) ผู้ช่วยเลขานุการรองประธานรัฐสภา (42) ผู้ช่วยเลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร (43) ผู้ช่วยเลขานุการประธานวุฒิสภา (44) ผู้ช่วยเลขานุการรองประธานสภาผู้แทนราษฎร (45) ผู้ช่วยเลขานุการรองประธานวุฒิสภา (46) ผู้ช่วยเลขานุการผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร (47) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (48) รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (49) ประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (50) สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (51) นายกเมืองพัทยา (52) รองนายกเมืองพัทยา (53) ประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา และเลขานุการนายกเมืองพัทยา (54) สมาชิกสภาเมืองพัทยา (55) นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (56) รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (57) ที่ปรึกษาและเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (58) สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (59) นายกเทศมนตรีนคร (60) รองนายกเทศมนตรีนคร (61) ที่ปรึกษาและเลขานุการนายกเทศมนตรีนคร (62) สมาชิกสภาเทศบาลนคร (63) นายกเทศมนตรีเมือง (64) รองนายกเทศมนตรีเมือง (65) ที่ปรึกษาและเลขานุการนายกเทศมนตรีเมือง (66) สมาชิกสภาเทศบาลเมือง (67) นายกเทศมนตรีตำบล (68) รองนายกเทศมนตรีตำบล (69) ที่ปรึกษาและเลขานุการนายกเทศมนตรีตำบล (70) นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (71) รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล (72) เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล * มาตรา 28 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2535 ** มาตรา 4 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น