จังหวัด
อำนาจเจริญจัดประชุมสัมมนาการสร้างเครือข่ายชุมชนรอบพื้นที่ป่าดงใหญ่
เพื่อการอนุรักษ์และ ใช้ประโยชน์ทรัพยากรพันธุกรรมจากพืชท้องถิ่น ที่
หอประชุม โรงเรียนบ้านสร้างถ่อ
ตำบลสร้างถ่อน้อย อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ นายอภิชาติ งามกมล
รองผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ
เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาการสร้างเครือข่ายชุมชนรอบพื้นที่ป่าดงใหญ่
เพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรพันธุกรรมจากพืชท้องถิ่น
โดยมีนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยมหิดล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ปราชญ์ชาวบ้าน และประชาชนในเขตพื้นที่โดยรอบป่าดงใหญ่เข้าร่วมสัมมนากว่า
100 คน
ตามที่มหาวิทยาลัยมหิดล
วิทยาเขตอำนาจเจริญร่วมกับโครงการการวิจัยแบบสหสาขาวิทยาเพื่อการถ่ายทอด
ความรู้ด้านการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรพันธุกรรมจากพืชท้องถิ่น
ซึ่งริเริ่มขึ้นเมื่อปี 2555
และกำลังขับเคลื่อนแผนการวิจัยจวบจนมาถึงปีปัจจุบัน
ภายใต้กรอบการดำเนินงานของ
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราช
สุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) โดยมีการทำงานอย่างมุ่งมั่นและทุ่มเท
อดทนเพื่อการวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพโดยใช้พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชที่
ป่าดงบังอี่-ดงหัวกอง เพื่อเป็นฐานปฏิบัติการแบบถาวร
ด้วยการเชื่อมโยงผู้คนในชุมชนที่อยู่รอบๆป่าให้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติให้มีความยั่งยืนโดยใช้ระบบฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ
แบบผสมผสานเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนงานด้วย
ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผสานงานวิชาการ
หลักวิชาการ เพื่อจัดการ
และเรียบเรียงเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่สอดรับกันระหว่างนักวิชาการกับปราชญ์
ชุมชน วัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมเครือข่ายนักวิจัยชุมชนรอบพื้นที่
หน่วยปฏิบัติงานสนับสนุนการดำเนินงาน
ในการสร้างความเข้าใจและเห็นความสำคัญในการอนุรักษ์ฐานทรัพยากรท้องถิ่น
เพื่อระดมความคิดเห็นแนวทางการทำงานเครือข่ายอย่างบูรณาการทุกภาคส่วน
ในการอนุรักษ์ปกปักพันธุกรรมพืชเพื่อการพัฒนาเป็นแหล่งปกปักพันธุกรรมพืช
ด้านความหลากหลายทางชีวภาพของจังหวัดเข้าร่วมสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์
พันธุกรรมพืชอันเนื่องจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี
และเพื่อการจัดทำแผนการจัดการทรัพยากรท้องถิ่นอย่างมีส่วนร่วม
สู่การปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
นายอภิชาติ
งามกมล รองผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ กล่าวว่า เมื่อโครงการนี้แล้วเสร็จจะสามารถเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้
และใช้ประโยชน์เพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่ดี และสิ่งเหล่านี้ทางจังหวัดอำนาจเจริญ ได้ให้ความสำคัญมาโดยตลอด
สุรพล
บุตรวงศ์ / บก.ข่าว
กฤษดา
เนตรพันธ์ /ข่าว/ภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น