ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์สยบข่าวลือเขื่อนนำนางรองร้าว หลังน้ำเกินปริมาณกักเก็บกว่า 121 ล้านลูกบาศก์เมตร ล้นสปริงเวย์ เรียกประชุมด่วนประเมินสถานการณ์น้ำท่วมตั้งอำเภอนางรองเป็นศูนย์กลางช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย สั่งนำเครื่องสูบน้ำผันระบายน้ำช่วยพื้นที่ปลายน้ำเตรียมพร้อมรับน้ำก้อนใหญ่
ที่ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอนางรอง จ.บุรีรัมย์ นายธงชัย ลืออดุลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ ได้เรียกประชุมด่วนหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง นายอำเภอทั้ง 23 อำเภอ เพื่อประเมินสถานการณ์พื้นที่ประสบอุทกภัยในจ.บุรีรัมย์ หลังจากที่หลายพื้นที่ในจ.บุรีรัมย์ประสบอุทกภัยในรอบ 2 หลังจากที่ถูกพายุหวู่ติ๊บเข้าประเทศไทยและทำให้เกิดฝนตกหนัก โดยเฉพาะน้ำจากลำน้ำสายต่างๆที่มีปริมาณน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมในรอบ 2 ในหลายอำเภอ โดยเฉพาะน้ำจากเขื่อนลำนางรองที่เกินปริมาณกักเก็บกว่า 121 ล้านลูกบาศก์เมตร และล้นสปริงเวย์บ่าเข้าท่วมในอ.โนนดินแดงและอำเภอทางผ่านของน้ำ ก่อนที่มวลน้ำจะไหลเข้ามาสมทบกันทั้งลำนางรอง ลำมาศ และลำปะเทียเข้าท่วมทั้ง 16 ตำบลของอ.นางรองที่เป็นศูนย์กลางรวมของลำน้ำ ทางจังหวัดจึงเรียกประชุมเพื่อประเมินสถานการณ์อุทกภัย และจัดตั้งให้อำเภอนางรองเป็นศูนย์กลางช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติฉุกเฉินจากอุทกภัยจ.บุรีรัมย์ เพื่อวางแผนตั้งรับและบรรเทาความเดือดร้อนจากมวลน้ำจำนวนมากที่จะไหลลงสู่อำเภอปลายน้ำ เพื่อบรรเทาความเสียหายจากมวลน้ำก้อนใหญ่ ทั้งอ.ลำปลายมาศ อ.คูเมือง อ.แคนดง อ.พุทไธสงและอ.สตึก ที่จะรับน้ำจากจ.บุรีรัมย์และจ.นครราชสีมาทั้งหมด นอกจากนี้ผู้ว่าฯบุรีรัมย์ยังได้นำหญ้าแห้ง พืชอาหารสัตว์ไปมอบช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่อ.โนนดินแดงที่ถูกน้ำท่วม จนไม่พื้นที่เลี้ยงสัตว์ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก
นายธงชัย ลืออดุลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวว่า "จากการประเมินสถานการณ์อุทกภัยพบว่าอ.นางรอง เป็นพื้นที่ศูนย์กลางรับน้ำด่านแรกจากหลายลำน้ำรวมกัน จึงได้ตั้งอ.นางรองเป็นศูนย์กลางช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ทั้งยังมีการประเมินสถานการณ์น้ำโดยเฉพาะน้ำจากเขื่อนลำนางรองที่เกินกักเก็บกว่า 121 ล้านลูกบาศก์เมตรและล้รสปริงเวย์กว่า 5 ล้านลูกบบาศก์เมตร เข้าท่วมในอ.โนนดินแดงและหลายอำเภอทางผ่านก่อนไหลมารวมกันที่อ.นางรอง ซึ่งกระแสข่าวลือเขื่อนลำนางรองร้าวจนทำให้เกิดความแตกตื่นนั้นยืนยันว่าเขื่อนไม่ร้าวแน่นอน อย่างไรก็ตามขณะนี้ได้สั่งการให้ทุกพื้นที่เร่งช่วยเหลือราษฎร พร้อมทั้งเตรียมนำเครื่องสูบน้ำไปสูบผันน้ำในอ.คูเมือง อ.แคนดง เพื่อเร่งระบายน้ำออกให้รวดเร็วที่สุดก่อนที่มวลน้ำก้อนนี้จากอ.นางรองจะไหลไปสู่อำเภอปลายน้ำอย่างอ.ลำปลายมาศ อ.แคนดง อ.คูเมือง อ.พุทไธสงและอ.สตึก เพื่อให้อำเภอเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากมวลน้ำและน้ำท่วมน้อยที่สุด”
ที่ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอนางรอง จ.บุรีรัมย์ นายธงชัย ลืออดุลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ ได้เรียกประชุมด่วนหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง นายอำเภอทั้ง 23 อำเภอ เพื่อประเมินสถานการณ์พื้นที่ประสบอุทกภัยในจ.บุรีรัมย์ หลังจากที่หลายพื้นที่ในจ.บุรีรัมย์ประสบอุทกภัยในรอบ 2 หลังจากที่ถูกพายุหวู่ติ๊บเข้าประเทศไทยและทำให้เกิดฝนตกหนัก โดยเฉพาะน้ำจากลำน้ำสายต่างๆที่มีปริมาณน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมในรอบ 2 ในหลายอำเภอ โดยเฉพาะน้ำจากเขื่อนลำนางรองที่เกินปริมาณกักเก็บกว่า 121 ล้านลูกบาศก์เมตร และล้นสปริงเวย์บ่าเข้าท่วมในอ.โนนดินแดงและอำเภอทางผ่านของน้ำ ก่อนที่มวลน้ำจะไหลเข้ามาสมทบกันทั้งลำนางรอง ลำมาศ และลำปะเทียเข้าท่วมทั้ง 16 ตำบลของอ.นางรองที่เป็นศูนย์กลางรวมของลำน้ำ ทางจังหวัดจึงเรียกประชุมเพื่อประเมินสถานการณ์อุทกภัย และจัดตั้งให้อำเภอนางรองเป็นศูนย์กลางช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติฉุกเฉินจากอุทกภัยจ.บุรีรัมย์ เพื่อวางแผนตั้งรับและบรรเทาความเดือดร้อนจากมวลน้ำจำนวนมากที่จะไหลลงสู่อำเภอปลายน้ำ เพื่อบรรเทาความเสียหายจากมวลน้ำก้อนใหญ่ ทั้งอ.ลำปลายมาศ อ.คูเมือง อ.แคนดง อ.พุทไธสงและอ.สตึก ที่จะรับน้ำจากจ.บุรีรัมย์และจ.นครราชสีมาทั้งหมด นอกจากนี้ผู้ว่าฯบุรีรัมย์ยังได้นำหญ้าแห้ง พืชอาหารสัตว์ไปมอบช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่อ.โนนดินแดงที่ถูกน้ำท่วม จนไม่พื้นที่เลี้ยงสัตว์ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก
นายธงชัย ลืออดุลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวว่า "จากการประเมินสถานการณ์อุทกภัยพบว่าอ.นางรอง เป็นพื้นที่ศูนย์กลางรับน้ำด่านแรกจากหลายลำน้ำรวมกัน จึงได้ตั้งอ.นางรองเป็นศูนย์กลางช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ทั้งยังมีการประเมินสถานการณ์น้ำโดยเฉพาะน้ำจากเขื่อนลำนางรองที่เกินกักเก็บกว่า 121 ล้านลูกบาศก์เมตรและล้รสปริงเวย์กว่า 5 ล้านลูกบบาศก์เมตร เข้าท่วมในอ.โนนดินแดงและหลายอำเภอทางผ่านก่อนไหลมารวมกันที่อ.นางรอง ซึ่งกระแสข่าวลือเขื่อนลำนางรองร้าวจนทำให้เกิดความแตกตื่นนั้นยืนยันว่าเขื่อนไม่ร้าวแน่นอน อย่างไรก็ตามขณะนี้ได้สั่งการให้ทุกพื้นที่เร่งช่วยเหลือราษฎร พร้อมทั้งเตรียมนำเครื่องสูบน้ำไปสูบผันน้ำในอ.คูเมือง อ.แคนดง เพื่อเร่งระบายน้ำออกให้รวดเร็วที่สุดก่อนที่มวลน้ำก้อนนี้จากอ.นางรองจะไหลไปสู่อำเภอปลายน้ำอย่างอ.ลำปลายมาศ อ.แคนดง อ.คูเมือง อ.พุทไธสงและอ.สตึก เพื่อให้อำเภอเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากมวลน้ำและน้ำท่วมน้อยที่สุด”
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดบุรีรัมย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น