นายปัญญา ศิลปะ เกษตรจังหวัดกาฬสินธุ์ เปิดเผยว่า ปีนี้เป็นปีที่อากาศร้อนและแห้งแล้ง ปริมาณฝนน้อยและล่าสุด พี่น้องเกษตรกรที่ทำนาจึงประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำทำนา และทำนาล่าช้ากว่าปกติ หลังจากมีฝนตกลงมาบ้างพอที่จะทำนาได้ พี่น้องเกษตรกรจึงเร่งการเจริญเติบโตของข้าวด้วยการใส่ปุ๋ยเคมีในปริมาณค่อนข้างสูง โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจนหรือปุ๋ยยูเรีย ประกอบกับช่วงนี้มีสภาพอากาศเหมาะสมต่อการเกิดโรคไหม้ข้าว และที่ผ่านมาพบว่ามีเกษตรกรมาขอรับบริการตรวจวินิจฉัยศัตรูพืชเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่พบว่าเป็นอาการของโรคไหม้ข้าว สำนักงานเกษตรจังหวัดกาฬสินธุ์ จึงได้ส่งเจ้าหน้าที่กลุ่มอารักขาพืชออกตรวจสอบการระบาดของโรคในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ กบการเกิดโรคไหม้ข้าวกระจายอยู่ทั่วไป รุนแรงบ้าง ไม่รุ่นแรงบ้าง เพื่อไม่ให้เกิดโรคระบาดลุกลามเป็นบริเวณกว้าง และสามารถควบคุมโรคไหม้ข้าวได้ สำหรับโรคไหม้ข้าว เกิดจากเชื้อรา Pyricularia grisea Saec. ลักษณะอาการในระยะกล้า ใบมีแผลจุดสีน้ำตาลลักษณะคล้ายรูปตาคนมีสีเทากลางแผล ถ้ารุนแรงกล้าข้าวจะแห้งฟุบตาย ระยะแตกกอ พบอาการได้ที่ใบ กาบใบ ข้อต่อใบ แผลลุกลามติดต่อกัน ข้อต่อใบลักษณะแผลช้ำ สีน้ำตาลดำ ใบมักหลุดจากกาบใบ ระยะคอรวง ข้าวเริ่มให้รวง จะทำให้ข้าวเมล็ดลีบ ถ้าเป็นโรคตอนข้าวแก่ใกล้เก็บเกี่ยว คอรวงจะเป็นผลช้ำ สีน้ำตาล เปราะหักง่าย รวงข้าวร่วงหล่นเสียหาย พบการระบาดในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม ระบาดในนาหว่านที่ข้าวหนาแน่น อับลม ใส่ปุ๋ยอัตราสูง เชื้อสามารถติดไปกับเมล็ดข้าว น้ำ ลม เศษฟางข้าว และระบาดรุนแรงในช่วงที่มีความชื้นสูง ฝนตกติดต่อกันเป็นเวลานาน
เกษตรจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวอีกว่า สำหรับวิธีการป้องกันกำจัด ในช่วงที่มีความชื้นสูง ฝนตกต่อเนื่องควรงดการใส่ปุ๋ยเคมีที่มีไนโตรเจนสูงโดยเฉพาะปุ๋ยยูเรีย, สำรวจแปลงนา หากพบอาการของโรคไม่รุนแรง ประมาณ 5-10% อาจควบคุมด้วยการใช้เชื้อแบคทีเรีย หรือ B.S (ลาร์มินา) ในอัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นในเวลาเย็น ควรฉีดพ่น 2-3 ครั้ง ห่างกัน 10-14 วัน , หากอาการของโรคไม่รุนแรงประมาณ 10% อาจใช้สารเคมี เช่น บลาสติซิดินเอส (บลาเอส), อีดิเฟนฟอส (ฮีโนซาน) อัตรา 15-20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร หรือไตรไซคลาโซ (บีม) อัตรา 15 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นขณะที่มีน้ำในนา, และหากระบาดรุนแรง มากกว่า 50% ให้ทำการเผาหรือไถทำลายเพื่อยับบั้ง หรือป้องกันการแพร่ระบาด หากพี่น้องเกษตรกรมีข้อสงสัยสามารถติดต่อได้ที่ กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดกาฬสินธุ์ โทร. 043-811714 หรือสำนักงานเกษตรอำเภอทุกอำเภอใกล้บ้านท่านในวันและเวลาราชการ
เกษตรจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวอีกว่า สำหรับวิธีการป้องกันกำจัด ในช่วงที่มีความชื้นสูง ฝนตกต่อเนื่องควรงดการใส่ปุ๋ยเคมีที่มีไนโตรเจนสูงโดยเฉพาะปุ๋ยยูเรีย, สำรวจแปลงนา หากพบอาการของโรคไม่รุนแรง ประมาณ 5-10% อาจควบคุมด้วยการใช้เชื้อแบคทีเรีย หรือ B.S (ลาร์มินา) ในอัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นในเวลาเย็น ควรฉีดพ่น 2-3 ครั้ง ห่างกัน 10-14 วัน , หากอาการของโรคไม่รุนแรงประมาณ 10% อาจใช้สารเคมี เช่น บลาสติซิดินเอส (บลาเอส), อีดิเฟนฟอส (ฮีโนซาน) อัตรา 15-20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร หรือไตรไซคลาโซ (บีม) อัตรา 15 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นขณะที่มีน้ำในนา, และหากระบาดรุนแรง มากกว่า 50% ให้ทำการเผาหรือไถทำลายเพื่อยับบั้ง หรือป้องกันการแพร่ระบาด หากพี่น้องเกษตรกรมีข้อสงสัยสามารถติดต่อได้ที่ กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดกาฬสินธุ์ โทร. 043-811714 หรือสำนักงานเกษตรอำเภอทุกอำเภอใกล้บ้านท่านในวันและเวลาราชการ
ดวงใจ หงษ์จันทร์ / ข่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น